โรคเซบเดิมจะมีผื่นแดงเป็นขุย บริเวณจมูก คิ้ว เป็นพักๆ ป้องกันการกำเริบและรักษาอย่างไร มาดูกันค่ะ
เซบเดิม [seborrheic dermatitis]
เซบเดิม เป็นโรคที่พบได้บ่อย
เนื่องจากอาการมีหลากหลายรูปแบบตั้งแต่อาการรุนแรงไม่มากคือเป็นรังแค
จนถึงอาการเป็นมากแบบที่เป็นผื่นแดงสะเก็ดทั่วตัว
อาการของเซบเดิมส่วนมากมักไม่คัน
เว้นบริเวณหนังศรีษะอาจพบอาการคันได้ค่ะ
เซบเดิมเกิดจากอะไร ?
สาเหตุของโรคยังไม่ทราบเป็นที่ชัดเจนแต่เชื่อว่าอาจสัมพันธ์กับผิวมันและเชื้อราที่ชอบเติบโตบนผิวมันคือ Malassezia
ซึ่งเชื้อรานี้จะปล่อยเอ็นไซม์ออกมาย่อยไขมันบนผิวกระตุ้นการอักเสบขึ้น
อาการของโรคเซบเดิมเช่น รังแคร์ ผื่นแดงมีสะเก็ดมันเป็นๆหายๆซึ่งผื่นนี้มักพบบริเวณที่มีผิวมันเช่น หลังหู หัวคิ้ว ซอกจมูก อก
อาการมักกำเริบในหน้าหนาว หรือเมื่อเครียดพักผ่อนไม่เพียงพอ
เซบเดิมที่ใบหน้า
เซบเดิมที่หนังศรีษะ
เซบเดิม ที่อก
เซบเดิม ไรผม
เซบเดิม ร่องจมูก
เซบเดิมที่หู
มีคนเป็นเซบเดิมเยอะไหม ?
ประมาณ 5% ของประชากรมีปัญหา เซบเดิมแต่อาการมากบ้างน้อยบ้างตามความรุนแรง
เซบเดิม พบได้บ่อยในผู้ป่วย HIV
เซบเดิมพบได้ในทุกเพศทุกวัย อาจเริมแสดงอาการในวัยรุ่น
เนื่องจากมีการทำงานของต่อมไขมันมากผลกระทบจากฮอร์โมนในช่วงวัยรุ่น
อีกกลุ่มที่พบได้บ่อยว่าเป็น เซบเดิมคือ ผู้ติดเชื้อ HIV
พบได้ 30-80%
เป็นเซ็บเดิร์มทำไงดี ?
ลดปัจจัยการกระตุ้นเซบเดิม
เช่น
ความเครียด
พักผ่อนไม่เพียงพอ
การเกาแล้วเนื่องจาก
เซบเดิมหายขาดไหม ?
เซบเดิมเป็นโรคที่ไม่หายขาด
อาการกำเริบเป็นพักๆ เช่นเมื่อพักผ่อนน้อย ภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง
เมื่อมีอาการก็ใช้ยาบรรเทารักษาตามอาการ
เซบเดิมเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาดอาการจะเป็นๆหายๆขึ้นกับการป้องกันและการรักษา
โดยมีการดูแลรักษาและปฏิบัติตนดังนี้
เซบเดิมที่หนังศรีษะ
ให้สระผมด้วยแชมพูที่มีตัวยา
2% ketoconazole shampoo
เป็นยาต้านเชื้อราในรูปแบบแชมพู อาจมีฤทธิ์ลดการอักเสบของผิวหนังอ่อนๆ
วิธีใช้คือใช้สระผมแทนแชมพูที่ใช้อยู่เป็นประจำ
ทิ้งไว้ 10 นาทีแล้วล้างออก
สองครั้งต่อสัปดาห์อย่างน้อยเป็นเวลาสี่สัปดาห์ ในช่วงอาการกำเริบ
ระยะที่โรคสงบใช้สระสัปดาห์ละครั้งจะลดการกำเริบของโรคได้
แชมพูสูตรอื่นๆ ที่สามารถลดปัญหาเซบเดิมที่หนังศรีษะได้เช่นกันเช่น
2.5% selenium sulfide
zinc pyrithione
Tar shampoo
แชมพูน้ำมันดิน มีข้อด้อยตรงสีและกลิ่น
เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแชมพูขจัดเชื้อรา
Baby oil ชะโลมหนังศรีษะในรายที่สะเก็ดหนา
สะเก็ดรังแคที่ติดแน่นหนังศรีษะให้ชโลมด้วย baby oil คลุมด้วยหมวกคลุมผม
หรือ wrap หมักทิ้งไว้ข้ามคืนสระผมออกตอนเช้าสะเก็ดจะนุ่มลงหลุดจากหนังศรีษะได้ง่ายขึ้น
ใช้ยาสเตียรอยด์หยอดศรีษะบริเวณที่เป็นสะเก็ดและผื่นแดง
ผื่นแดงสะเก็ดที่หนังศรีษะ ให้ใช้ยาสเตียรอยเช่น 0.1% TA milk lotion หยอดเฉพาะบริเวณรอยโรคที่หนังศรีษะเช้าเย็น
จนรอยโรคหายคือไม่เกินหนึ่งถึงสามสัปดาห์เพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากการใช้สเตียรอยคือทำให้ผิวบางลง
เลี่ยงการใช้สเปร์จัดแต่งทรงผมเนื่องจากอาจทำให้เกิดการระคายเคืองหนังศรีษะ
click เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้สเตียรอยด์อย่างถูกวิธี
เซบเดิมบริเวณใบหน้า
ในช่วงที่โรคสงบ
สำหรับคนที่ไม่ได้แต่งหน้าให้ใช้น้ำเปล่าล้างหน้าเช้าเย็นก็เพียงพอ
หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอร์เช่น toner ,after shave , ครีมโกนนวด เนื่องจากระคายเคืองต่อผิว
ในช่วงที่โรคกำเริบให้ใช้
2%ketoconazole shampoo
ล้างหน้าแทนสบู่ล้างหน้า หากผิวแห้งหลังล้างหน้าให้ทามอย์สเจอไรเซอร์ให้ความชุ่มชื้นหลังล้างหน้า
ยาทา
ยาทานั้นมีแบบทั้งที่เป็นยาสเตียรอยด์และแบบที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์
ข้อดีของยาเสตียรอยรอยด์คือเห็นผลการรักษาไวกว่า แต่ก็มีข้อเสียที่เกิดผลข้างเคียงเมื่อใช้เป็นเวลานานเส้น สิวขึ้น ผิวบาง
ยาสเตียรอย
ที่ใช้บริเวณใบหน้าควรใช้ความเข้มข้นน้อยที่สุดที่สามารถลดอาการได้
สเตียรอยด์กลุ่มคว่มเข้มข้นต่ำเช่น
คือ 1%hydocorisone , H cort , 0.02% triamcinlone ทาบริเวณผื่นเช้าเย็นไม่เกินสี่สัปดาห์
click เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ H cort
ยาทาที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
calcineurin inhibitor
เช่น Tarcolimus , pimercolimus
ใช้ทาเช้าเย็นเป็นเวลาสั้นๆจนรอยโรคหายจึงหยุดยา
คือ 4 สัปดาห์โดยประมาณ
ข้อดีของยากลุ่มใหม่นี้คือไม่ทำให้ผิวบางอย่างเช่นการใช้ยาเสตียรอย
ข้อเสียคือยามีราคาสูงและอาจมีการระคายเคืองได้
click เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับยา Protopic
2% ketoconazole cream
ใช้ทาบริเวณผื่นเช้าเย็น สี่สัปดาห์โดยประมาณ
ผลการรักษาจะเห็นช้ากว่ายาสเตียรอยด์
เซบเดิมบริเวณลำตัว
บริเวณผื่นแดงสะเก็ดมัน ทาด้วยสเตียรอยความเข้มข้นปานกลาง
เช่น betamethasone , 0.1% TA , Dermatop ทาบางๆเช้าเย็น
จนผื่นหายจึงหยุดใช้ ไม่ควรใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานานเพราะจะทำให้เกิดผิวบางและสิวขึ้นบริเวณที่ทายาได้
click เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ TA
เคล็ดลับในการใช้ยา
หลังใช้ยาทาเมื่ออาการดีขึ้น ต้องการหยุดยา อาจเปลี่ยนเป็นการทายาให้ห่างขึ้น เช่น
ทาวันละครั้งหรือทาวันเว้นวัน
ป้องกันผื่นเห่อหลังหยุดยาค่ะ
ในรายที่มีผื่นเป็นบริเวณกว้างอาจพิจารณาการรักษาอื่นเช่น
การรักษาด้วยยารับประทาน
ควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เนื่องจากมีผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
ได้เช่นยา ketoconazole อาจมีผลข้างเคียงคือ ตับอักเสบ
ยา isotretinoin มักเกิดอาการผิวแห้งปากแห้งตาแห้ง
และต้องคุมกำเนิดระหว่างใช้ยาอย่างเคร่งครัด
การฉายแสง UVB
สามารถทำได้เฉพาะโรงพยาบาลใหญ่เช่นโรงเรียนแพทย์
ผู้เข้ารับการรักษาต้องไปรับการฉายแสงสามครั้งต่อสัปดาห์
เป็นเวลาต่อเนื่องสองเดือนจึงอาจเป็นวิธีที่ไม่สะดวกในการเดินทางนัก
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคผิวหนังที่ทำให้เกิดรอยแดงบนใบหน้า “สิวหน้าแดง”
บรรณานุกรม
- ปรียา กุลละวณิชย์,ประวิตร พิศาลยบุตร .Dermatology 2020:ชื่อบท.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:โฮลิสติก,2555
- Lowell A. Goldsmith,Stephen I. Katz,Barbara A. Gilchrest,Amy S. Paller,David J.Leffell,Klaus Wolff.Fitzpatrick’s dermatology in general medicine :chapter.eight edition.McGraw-Hill.2012
- Seborrheic dermatitis : medscape http://emedicine.medscape.com/article/1108312-overview#aw2aab6b2b3aa [2013,Oct 13].
Discussion3 Comments
Pingback: ื่ผื่นผิวหนังอักเสบ เอ็กซีม่า eczema | ตอบคำถาม สิว ฝ้า ผิวพรรณ
Pingback: สิวจากยีสต์ Pityrosporum folliculitis คืออะไร อาการ การรักษา | ตอบคำถาม สิว ฝ้า ผิวพรรณ
Pingback: 10 วิธีดูแลตนเองเมื่อเป็น เซบเดิม | ตอบคำถาม สิว ฝ้า ผิวพรรณ