
on Flickr.com
การรักษาศรีษะล้าน ทำอย่างไร มาดูกันค่ะ
หัวล้าน ทำไงดี ?
ศรีษะล้านที่เราจะพูดถึงในวันนี้คือศรีษะล้านที่เกิดจากพันธุกรรม และอายุ ที่เราเห็นกันทั่วๆไปว่าทั้งชายและหญิง บางคนเมื่ออายุเริ่มมากขึ้นผมจะเริ่มบางและเถิกขึ้น
ชื่อทางวิชาการของผมล้านคือ androgenic alopecia เนื่องจากเชื่อว่าฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจนมีส่วนสำคัญในการเกิด
หัวล้านพบบ่อยแค่ไหน ?
ฝรั่งผิวขาวพบว่ามีปัญหาหัวล้านมากกว่าคนเอเชีย
จากข้อมูลสถิติที่ศึกษาในฝรั่งชาวตะวันตกพบว่า ที่อายุ 50 ปี ประชากรชายประมาณครึ่งหนึ่งจะมีปัญหา หัวล้าน
และที่อายุ แปดสิบปี ประชากรชายเกือบทุกคนจะมีปัญหาหัวล้าน จึงจัดได้ว่าปัญหานี้เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยโดยธรรมชาติ
ยิ่งอายุมากขึ้นโอกาสเป็นศรีษะล้านก็ยิ่งมากขึ้น
ในผู้ที่อายุ 18-29 พบได ้16%
30-39 พบได้ 49%
40-49 พบได้ 53%
หัวล้านเกิดจากอะไร ?
เชื่อว่าสาเหตุเกิดมาจากในคนที่หัวล้านต่อมผม มีความไวต่อฮอร์โมนเพศชายแอโดรเจนมากกว่าปกติ ปัจจัยที่ทำให้เกิดหัวล้านนั้นมีสามปัจจัยดังนี้
- ฮอร์โมนเพศชายแอนโดรเจน [ในเพศหญิงที่มีความผิดปกติของฮอร์โมนคือมีระดับฮอร์โมนเพศชายสูงก็เกิดหัวล้านผมบางได้เช่นกัน ]
- อายุ
- กรรมพันธุ์
รู้ได้ยังไงว่าเราเริ่มมีหัวล้านแล้ว ?
ในผู้ชายเริ่มสังเกตุพบอาการของหัวล้านได้ตั้งแต่อายุ 17 ปี
ส่วนในผู้หญิงเริ่มพบได้ตั้งแต่ 25 ปี
โดยจะเริ่มจากผมเส้นใหญ่สีดำ เริ่มมีเส้นบางลงและสีจางลงจนกลายเป็นผมสีออ่นหรือไม่มีสีที่ดูคล้ายเส้นขน อย่างค่อยเป็นค่อยไป
ในผู้ชายมักพบศรีษะเถิกเข้าไปตามแนวขมับทั้งสองข้าง
ส่วนในเพศหญิง จะพบลักษณะผมบางกระจายไปทั่วบริเวณด้านบนของศรีษะ click เพื่อดูรูปศรีษะล้านเพิ่มเติม
หัวล้านต้องตรวจเลือดหาสาเหตุมั้ย ?
- ในผู้ชายอายุมากกว่า 25 ปี ถ้ามีลักษณะหัวล้านแบบผมร่วงจากขมับสองข้างและมีประวัติทางพันธุกรรมก็มักจะบอกได้เลยว่าเป็นหัวล้านจากกรรมพันธ์ แต่หากตรวจร่างกายแล้วมีผมที่ผิดปกติหรือหนังศรีษะที่ผิดปกติที่อาจมาจากสาเหตุทางกายไม่ใช่จากอายุที่มากขึ้นและกรรมพันธุ์ที่มักค่อยเป็นค่อยไปก็อาจต้องตรวจเช็คเพิ่ม
- ในผู้หญิง อาจต้องทำการตรวจฮอร์โมนไทรอยด์ หรือระดับฮอร์โมนเพศชาย เพราะความผิดปกติของฮอร์โมนเหล่านี้ทำให้เกิดอาการผมบางได้เช่นกัน
หัวล้านทำไงดี ?
การรักษาหัวล้านมีทั้งการใช้ยารับประทาน ยาทา และเลเซอร์ ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดทีละตัวต่อไป
- ยาทาสำหรับป้องกันผมร่วง ตัวยาหลักที่ใช้มานานและมีงานวิจัยรองรับคือ minoxidil click เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ minoxidil
- ยารับประทานที่ใช้จะเป็นยาต้านฮอร์โมนเพศชาย เช่น finasteride แต่ไม่แนะนำในผู้หญิงที่มีแพลนจะมีบุตรเพราะอาจทำให้เกิดความผิดปกติของทารกได้ค่ะ click เพื่ออ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ finasteride
การปฏิบัติตัวเพื่อลดผมขาดหลุดร่วงเช่น
- หวีผมก่อนสระผม เพื่อลดผมพันกันและขาดหลุดร่วง
- ไม่หวีผมสางผมตอนผมเปียกโดยเฉพาะผมยาวๆ เวลาผมเปียกผมจะขาดง่ายค่ะ
- เลี่ยงการกระทำที่ทำให้เกิดการเปี่ยนแปลงของโปรตีนในเส้นผม ทำให้ผมขาดง่าย คือการทำ เคมีต่างๆ การตัด การยืด ฟอกสีผม
- เลี่ยงการทำทรงผมที่เกิดแรงดึงทำให้ผมขาดเช่น รัดผมตึง เกล้าผม
- เล็มปลายผม ช่วยลดผมพันกันและขาดหลุดร่วงค่ะ
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัญหาผมและการรักษาได้ที่นี่
บรรณานุกรม
- ปรียากุลละวณิชย์,ประวิตร พิศาลยบุตร .Dermatology 2020:ชื่อบท.พิมพ์ครั้งที่1.กรุงเทพฯ:โฮลิสติก,2555
- Lowell A. Goldsmith,Stephen I. Katz,Barbara A. Gilchrest,Amy S. Paller,David J.Leffell,Klaus Wolff.Fitzpatrick’s dermatology in general medicine :chapter.eight edition.McGraw-Hill.2012